01 พฤศจิกายน 2552

ประชุมภาคคร้งที่2วันที่31ตค.2552 ณ.รร.นครแพร่ทาวเวอร์ จ.แพร่

คณะกรรมการบริหารสโมสรไลออนส์เมืองพระบางนครสวรรค์ เข้าร่วมประชุมภาคคร้งที่2วันที่31ตค.2552 ณ.รร.นครแพร่ทาวเวอร์ จ.แพร่ ดังนี้
1.ไลออน สมชาย อุฤทธิ์ นายกสโมสรฯ
2.ไลออน ชัยวัฒน์ ไชยธนาทรัพย์ เลขาธิการสโมสรฯ
3.ไลออน ชูศักดิ์ ผลกาญจนะ ประธานภูมิภาคที่4
พร้อมร่วมงานเลี้ยงต้อนรับจากเจ้าภาพฯ สโมสรฯไลออน แพร่ ณ.บ้านเก่าอายุ 140 ปีโดยได้รับการดูแลเป็นอย่างดี และ ร่วมกิจกรรม มินิไลออนส์เดย์ในเช้าวันที่1พย.2552 ร่วมขี่จักรยานที่นำมาแจกกว่า 60 คันไปณ.กำแพงเมืองเก่า, พร้อมมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกจำนวน 130 ทุน (ขอบคุณเจ้าภาพและคณะทำงานครับ วันนั้น เราสนุก และมีความสุขมากครับ)












ประชุมภาคคร้

26 ตุลาคม 2552

พันธะ ที่สมาชิกมีต่อสโมสรไลออนส์

พันธะ ที่สมาชิกมีต่อสโมสรไลออนส์
นอกเหนือไปจากจรรยาบรรณที่สมาชิกไลออนส์ ได้กล่าวคำปฎิญาณไว้แล้ ยังมีข้อปฏิบัติ หรือพันธะสำหรับ สมาชิกไลออนส์จะพึงมีต่อสโมสรของตนดังต่อไปนี้
1.ให้เวลาและความคิดเห็นอย่างดีที่สุดแก่สโมสรฯ
2.เข้าร่วมประชุมในการประชุมสโมสรฯ ทุกครั้ง นอกจากจะไม่อยู่หรือเจ็บป่วย ซึ่งควรจะแจ้งให้ เลขาธิการทราบก่อนทุกครั้งที่มีความจำเป็นจะต้องขาดการประชุม
3.ถือว่าวันประชุมของสโมสรไลออนส์นั้นสำคัญกว่าการ นัดหมายอื่น ๆ
4.พร้อมเสมอที่จะยอมรับตำแหน่งการทำงานในหน้าที่หนึ่ง หน้าที่ใด ซึ่งทางสโมสรฯ จะมอบหมายให้
5.ควรศึกษาถึงธรรมนูญ กฎหมายข้อบังคับ ภาคผนวกของ สโมสรตน ของภาคและของไลออนส์สากล
6.ให้ภรรยา ครอบครัว และมิตรสหายของตน ได้ทราบถึงเรื่องราวและประโยชน์ที่จะได้จากการเป็น สมาชิกไลออนส์
7.หากยังไม่มีโอกาสที่จะทำหน้าที่บริหารของสโมสรฯ ก็ควรสนับสนุนเจ้าหน้าที่บริหารของสโมสรฯ ด้วยดี
8.ควรรีบชำระค่าบำรุง หรือเงินอุดหนุนอื่นๆ ให้แก่สโมสรฯ ตามกำหนดโดยมิต้องเตือนหรือทวงถาม

ทั้ง 8 ข้อ ที่กล่าวมานี้ หมายถึง พันธะที่สมาชิกไลออนส์พึงปฏิบัติต่อสโมสรไลออนส์ของตน เพื่อให้ชื่อเสียงเกียรติคุณและ กิจการของไลออนส์ได้ขยายกว้างขวางออกไป

จรรยาบรรณของสมาชิกสโมสรไลออนส์

1.ข้าฯ จะแสดงให้ประจักษ์ถึงความศรัทธาในคุณค่าแห่งอาชีพของตน โดยจะประกอบสัมมาอาชีวะ ด้วยความอุตสาหะวิริยะจนถึงที่สุด เพื่อเชิดชูคุณภาพแห่งบริการของข้าฯ
2.ข้าฯ จะมุ่งมั่นให้บรรลุผลสำเร็จในกิจการงานและเรียกร้องค่าตอบแทนหรือผลกำไรอันพึ่งได้อย่าง ยุติธรรม ข้าฯจะไม่ยอมให้ความศรัทธาในตนเองต้องเสื่อมสิ้นไปเพราะการแลกเปลี่ยนเอาผลกำไร ด้วยการเอารัดเอาเปรียบ หรือด้วยการกระทำอันน่าสงสัย
3.ข้าฯ จะยึดมั่นอยู่เสมอว่าการเสริมสร้างธุรกิจของข้าฯ ไม่จำเป็นต้องทำลายผู้อื่น ข้าฯ จะซื่อสัตย์ ต่อผู้ได้รับบริการจากข้าฯ และต่อตนเอง
4.ข้าฯ จะขจัดความสงสัยทั้งมวลให้สิ้นไปโดยพลัน ที่เกิดความระแวงสงสัยในหน้าที่การงานเกี่ยวกับ สิทธิและธรรมจรรยาของข้าฯ ต่อมิตรทั้งปวง
5.ข้าฯ จะยึดถือว่ามิตรภาพไม่ได้ขึ้นอยู่กับการบริการหรือค่าตอบแทนและข้าฯ จะยอมรับบริการก็ ด้วยน้ำใจแห่งมิตรภาพนั้น
6.ข้าฯ จะสังวรณ์ถึงหน้าที่ที่ข้าฯ มีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาคมในฐานะพลเมือง คนหนึ่งด้วยความภักดีโดยไม่เปลี่ยนแปร ข้าฯ จะอุทิศทั้งกำลังกาย กำลังใจและกำลังทรัพย์เพื่อหน้าที่ดังกล่าว
7.ข้าฯ จะให้ความช่วยเหลือด้วยความเห็นอกเห็นใจต่อผู้ตกทุกข์ได้ยากและ ผู้อ่อนแอและจะ อนุเคราะห์ต่อผู้ยากจน
8.ข้าฯ จะวิจารณ์การกระทำของผู้อื่นด้วยความเที่ยงธรรม จะส่งเสริม และไม่ทำลาย

วัตถุประสงค์ของสโมสรไลออนส์สากล

สโมสรไลออนส์เป็นสโมสรการกุศลที่ตั้งขึ้นตามธรรมนูญและข้อบังคับของสโมสรไลออนส์สากล มีวัตถุประสงค์ดังนี้
เพื่อสร้างสรรค์และผดุงไว้ซึ่งความเข้าใจอันดีระหว่างมนุษยชาติของโลก
เพื่อส่งเสริมหลักธรรมที่ดีของรัฐบาล และการเป็นพลเมืองดี
เพื่อให้ความร่วมมือในสวัสดิการสงเคราะห์ของท้องถิ่น ทั้งในด้านกิจการสาธารณะ วัฒนธรรม สังคม และศีลธรรมจริยา
เพื่อรวมสโมสรต่าง ๆ ให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเกี่ยวกับความสัมพันธ์แห่งมิตรภาพ ภราดรภาพ และความเข้าใจอันดีระหว่างกัน
เพื่อจัดให้มีการประชุมอภิปรายอย่างเปิดเผย ในเรื่องที่เป็นสาธารณประโยชน์ โดยมีเงื่อนไขว่า สมาชิกสโมสรจะไม่เข้าร่วมอภิปรายในเรื่องที่ฝักใฝ่การเมือง และความขัดแย้งของลัทธิศาสนาใดๆ
เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ที่มีจิตใจจะรับใช้สังคมได้ทำประโยชน์แก่ชุมชน โดยปราศจากรางวัล ตอบแทนเป็นเงินทองสำหรับส่วนตัว กับสนับสนุนประสิทธิภาพ และส่งเสริมจรรยาบรรณมาตรฐานระดับ สูงให้เกิดขึ้นในงานพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และงานอาชีพอื่น ๆ รวมทั้งงานของรัฐบาลและการ ประกอบกิจการงานของเอกชนด้วย

ทั้งนี้โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง การศาสนา หรือเชื้อชาติแต่ประการใด

กิจกรรมหลักของสโมสรไลออนส์

สโมสรไลออนส์ที่เข้าเป็นสมาชิกของสมาคมสโมสรไลออนส์ จะต้องกระทำ
"กิจกรรม" (Activity) เพื่อประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์และสังคมในชุมชนที่สโมสร
ตั้งอยู่หรือในประเทศของตน หรือทั้งโลกเป็นประจำทุกเดือน กิจกรรมนี้แยกออกได้
เป็น 2 อย่าง คือ กิจกรรมบริหาร (Service Activity) และ "กิจกรรมหาทุน" (Fund-raising Activity) เพื่อนำเงินที่หาได้มาสำหรับให้บริการสาธารณกุศลหรือ การสังคมสงเคราระห์อื่น ๆ

กิจกรรมบริหารที่สมาคมสโมสรไลออนส์รับรองให้สโมสรไลออนส์ปฏิบัติเป็นประจำ นั้น จำแนกออกได้เป็นโครงการถาวรใหญ่ ๆ (Program) 10 โครงการ คือ

โครงการการพิทักษ์สายตาและช่วยเหลือคนตาบอด
โครงการการพิทักษ์ประสาทหูและช่วยเหลือคนหูหนวก
โครงการการส่งเสริมการศึกษา
โครงการส่งเสริมการเป็นพลเมืองดี และความมั่นคงของประเทศชาติ
โครงการอนุรักษณ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โครงการส่งเสริมนันทนาการหรือการผักผ่อนหย่อนใจ
โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัย ซึ่งในเรื่องนี้รวมทั้งการป้องกันและต่อต้านยาเสพติด กับโรคเบาหวานด้วย
โครงการส่งเสริมกิจกรรมสาธารณประโยชน์
โครงการสังคมสงเคราะห์
โครงการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ

นอกจากโครงการบริการหลัก 10 ประการนี้แล้ว ยังมีโครงการหลักพิเศษอีก 2 โครงการ คือ
โครงการสโมสรลีโอ (Leo Clubs Program)
โครงการมูลนิธิไลออนส์สากล (Lion Clubs International Foundation) (LCIF)

การก่อตั้งสโมสรไลออนส์ในประเทศไทย (lions310 thailand)

  • การก่อตั้งสโมสรไลออนส์ในประเทศไทย

แรกเริ่มประมาณกลางปี พ.ศ. 2500 ไลออน เอ็ช. ปันโดล ซึ่งเป็นผู้แทนสมาคมสโมสรไลออนส์สากล ประจำภาคเอเชียตะวันตก และสำนักงานประจำอยู่ที่นครบอมเบย์ ประเทศอินเดีย ได้เดินทางเข้ามาประเทศไทยโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะมาหาทางดำเนินการก่อตั้งสโมสรไลออนส์ขึ้น ในกรุงเทพมหานครให้ได้ เขามุ่งตรงไปสำนักงานยูซิส ของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา และได้มีโอกาสพบปะคนไทยคนแรก คือ น.พ.ปันต์ เลาหะพันธ์ ซึ่งทำงานอยู่ที่นั่น ได้ปรึกษาหารือเกี่ยวกับเรื่องของสโมสรไลออนส์สากล ต่อจากนั้น น.พ.ปันต์ ได้พา ไลออน ปันโดล ไปพบ ม.ล.จิตรสาร ชุมสาย ซึ่งเป็นเพื่อนกัน และทำงานอยู่ที่สายการบินแอร์อินเดียในเวลานั้น ทั้งสามได้สนทนาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องไลออนส์กันอย่างกว้างขวาง ทั้งยังได้แนะนำให้ไลออน ปันโคล ได้พบปรึกษากับ ม.จ.อาชวดิศ ดิศกุล, ดร.บุญรอด บัณฑสันท์, คุณตุ๊ วัชราธร และคุณวิชา เศรษฐบุตร ซึ่งหากท่านเห็นด้วยในแนวความคิดนี้ ก็ขอให้ท่านโปรดแนะนำคนอื่นให้อีก ไลออน ปันโคล เป็นผู้ที่มีมานะและความตั้งใจเด็ดเดี่ยวจริงๆ ได้ไปพบท่านเหล่านั้นแต่ละคนด้วยตนเองทั้งสิ้น เพราะแต่ละท่านยังไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องนี้กันเท่าใด ไลออนปันโคล ไม่ละความพยายามได้เดินทางเข้ามาประเทศไทยอีกหลายครั้ง ในปีต่อมาได้เข้าเฝ้าและพบบุคคลผู้กล่าวพระนามและนามดังกล่าวบ่อยครั้ง จนสามารถโน้มน้าวให้เกิดศรัทธาในอุดมการณ์ของไลออนส์สากลได้ ในที่สุดสามารถรวบรวมบุคคลได้ 9 ท่าน คือ ม.จ.อาชวดิศ ดิศกุล, ดร.บุญรอด บัณฑสัณฑ์, คุณอนันต์ จินตกานนท์, คุณสุรเทิน บุนนาค, คุณตุ๊ วัชราธร, คุณฉุน ประภาวิวัฒน์, คุณทวี เนียรกุล, นพ.ปันต์ เลาหะพันธ์ และม.ล.จิตรสาร ชุมสาย ซึ่งได้นัดหมายให้ไปพบปะกันที่วังของ ม.จ.อาชวดิศฯ โดยได้มีการปรึกษาหารือกันอย่างจริงจัง ในที่สุดก็ได้ตกลงยอมรับที่จะร่วมมือก่อตั้งสโมสรไลออนส์ขึ้น
ในระยะแรกของการเตรียมการ ม.จ.อาชวดิศ ดิศกุล ได้ทรงพระกรุณาอนุญาตให้บุคคลกลุ่มนี้ไปประชุมที่ตำหนักของท่านที่ถนนเพชรบุรี ทุกเย็นวันอาทิตย์ให้ช่วยกันแปลธรรมนูญและข้อบังคับของไลออนส์สากลให้เป็นภาษาไทย เพื่อเป็นหลักให้สโมสรไลออนส์อื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคตยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป เมื่อได้ตรวจทบทวนธรรมนูญ และข้อบังคับภาคภาษาไทยจนเป็นที่พอใจแล้ว ก็ตกลงใจกันที่จะดำเนินการก่อตั้งสโมสรไลออนส์ขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทยโดยช่วยกันไปชักชวนผู้ที่สนใจและใฝ่ใจในทางประกอบกิจกรรมเพื่อการกุศลให้ได้อย่างน้อย 30 ท่าน มาร่วมเป็นสมาชิกก่อตั้งสโมสรไลออนส์ขึ้น

การก่อตั้งสโมสรไลออนส์แห่งกรุงเทพฯ
หลังจากมีสมาชิก 30 ท่านแล้วได้มีการประชุมกันอีกหลายครั้งที่ปาล์มเรสตัวรองต์หลังโรงแรมเอราวัณ โดยมีไลออนส์ ปันโดล มาร่วมประชุมด้วยเกือบทุกครั้ง ในที่สุดก็รวมสมาชิกก่อตั้งได้ถึง 30 ท่านจริงๆ ได้ให้ความเห็นชอบที่จะตั้งชื่อสโมสรว่า “สโมสรไลออนส์แห่งกรุงเทพฯ” ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Lions Club of Bangkok” โดยมี ดร.บุญรอด บิณฑสัณฑ์ เป็นนายกคนแรก ที่ประชุมยังได้มีมติให้ใช้ภาษาในการประชุมเป็นภาษาอังกฤษอีกด้วย สโมสรไลออนส์สากลแห่งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2502 และจัดให้มีการฉลองบัตรชารเตอร์ขึ้นในวันที่ 24 ตุลาคม 2502 ต่อมาสโมสรไลออนส์แห่งกรุงเทพฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้รับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2506 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณและเป็นเกียรติอย่างสูงแก่สโมสรและแก่สมาชิกทุกคนทั้งในอดีตและในปัจจุบัน

กิจการไลออนส์ในประเทศไทยได้เจริญก้าวหน้าอย่างเชื่องช้าในระยะ 6-7 ปีแรก เพราะยังเป็นของใหม่ต่อคนไทยอยู่ สโมสรไลออนส์แห่งกรุงเทพฯ ยังคงดำเนินการเป็นเอกเทศอยู่สโมสรเดียวในประเทศไทย ไลออนส์สากลได้เสนอให้ไปรวมกับสโมสรไลออนส์ในประเทศพม่า สโมสรไลออนส์แห่งกรุงเทพฯ ตอบปฏิเสธไป โดยขออยู่อย่างโดดเดี่ยวและขึ้นตรงต่อไลออนส์สากล ไลออนส์ภาค 308 (มาเลเซีย-สิงคโปร์) ก็ได้เชื้อเชิญให้ไปร่วมอยู่ในสังกัดภาคเดียวกัน จนกระทั่ง พ.ศ.2507 ไลออนส์ในประเทศไทยได้เริ่มสโมสรที่สองขึ้นคือ สโมสรไลออนส์ชลบุรี และในปีต่อ ๆ มาก็ได้มีสโมสรเพิ่มขึ้นทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดรวมถึง 8 สโมสร ในระยะระหว่าง พ.ศ.2509 นั้น ไลออนส์สากลได้ขอให้สโมสร ไลออนส์ในเวียดนามใต้ซึ่งมีอยู่ 6 สโมสรแล้วมาร่วมอยู่ในสังกัดประเทศไทยรวม 14 สโมสรไลออนส์ไทย จึงได้รับแต่งตั้งจากไลออนส์สากลให้เป็นภาค 310 ชั่วคราว ระหว่างปี พ.ศ.2509-2511 ไลออน ม.จ.อาชาวดิศ ดิศกุล ได้รับการแต่งตั้งจากไลออนส์สากล ให้ทรงดำรงตำแหน่งผู้ว่าการภาค 310 ชั่วคราวถึง 2 ปีติดกัน เนื่องจากในระยะนั้นยังมีสโมสรไม่ครบ 20 สโมสร ในปี พ.ศ.2511 สโมสรในประเทศไทยได้ขยายเพิ่มขึ้นเป็น 14 สโมสรและในเวียดนามได้มีโอกาสเพิ่มขึ้นเป็น 8 สโมสรเมื่อมีรวมกันเกิน 20 สโมสร ตามธรรมนูญไลออนส์สากลได้กำหนดให้มีผู้ว่าราชการภาคด้วยการเลือกตั้งจากการประชุมใหญ่ประจำปี ไลออนส์ ม.จ.อาชาวดิศ ดิศกุล ได้รับเลือกตั้งให้ทรงดำรงตำแหน่งผู้ว่าการภาคอีกจึงทรงดำรงตำแหน่งผู้ว่าการภาค 310 ถึง 3 สมัย และในปี พ.ศ.2511 นั้นเอง สโมสรไลออนส์เวียดนามได้ขอแยกจากเราไปตั้งเป็นภาคของตนเองขึ้น ดังนั้น ภาค 310 ของเราจึงมีแต่สโมสรไลออนส์ไทยเท่านั้น แต่ในต้นปี พ.ศ.2513 เราได้ดำเนินการก่อตั้งสโมสรไลออนส์เวียงจันทร์แห่งราชอาณาจักรลาวขึ้น ภาค 310 ในระยะนั้นจึงได้รับการขนานนามว่า ไลออนส์สากลภาค 310 (ไทย-ลาว) แต่หลังนั้นมาประมาณ 5 ปีเศษ สโมสรไลออนส์เวียงจันทร์ไม่สามารถประคองตัวอยู่ใต้ภาค 310 เราจึงได้เสนอให้ไลออนส์สากลตัดสโมสรไลออนส์เวียงจันทร์ออก เราจึงเป็นภาค 310 ที่มีแต่สโมสรไลออนส์ในประเทศไทยล้วนๆ แต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน

ที่มา : หนังสือที่ระลึกในงานฉลองครบรอบ 40 ปี สโมสรไลออนส์ธนบุรีและ 30 ปี สโมสรไลออนส์ธนบุรีรัตน์ หน้า 47-48

25 ตุลาคม 2552

รายชื่อสมาชิกสโมสรฯปีบริหาร2552-53















ประวัติสโมสรไลออนส์สากล


ผู้ก่อตั้งสโมสรไลออนส์สากลMelvin Jones Founder Lion Internation 1879-1961"We serve"ไลออน เมลวิน โจนส์เกิด 2422-2505 (อายุ 83 ปี)


สโมสรไลออนส์สากล เริ่มก่อตั้ง 7 มิถุนายน 2460 (1917) เมลวิน โจนส์ (Melvin Jones, 2422-2504) หนุ่มนักธุรกิจประกันภัย และเป็นเลขานุการสโมสรนักธุรกิจแห่งหนึ่งในนครชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ได้เชิญผู้แทนสโมสร นักธุรกิจอิสระชายหลายสโมสรมาประชุมปรึกษาหารือกันในการจัดตั้งสมาคมการกุศล โดยจะรวมสโมสรอิสระเหล่านั้นเข้าด้วยกันเพื่อจัดกิจกรรมอันเป็นการบำบัดทุกข์บำรุงสุข แก่ผู้ยากไร้หรือด้อยโชควาสนากว่าตน โดยไม่หวังผลตอบแทนและไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองหรือลัทธิศาสนาใดๆ ที่ประชุมได้เห็นด้วยกับอุดมการณ์เรื่องนี้ และวางแผนการที่จะจัดตั้งเป็นสมาคมต่อไป และได้ก่อตั้งเป็นผลสำเร็จในวันที่ 8-10 ตุลาคม 2460(1917)

สโมสรที่ร่วมอุดมการณ์ 23 สโมสรจัดการประชุมใหญ่(Convention) ขึ้นเป็นครั้งแรกที่นครดัลลัส มลรัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา ที่ประชุมได้รับรองรัฐธรรมนูญและข้อบังคับของสมาคม กำหนดจรรยาบรรณของไลออนส์ จัดรูปองค์การบริหารงานสมาคมและสโมสรไลออนส์ โดยเลือกนายเมลวิน โจนส์เป็นนายกสโมสรเป็นคนแรก นับว่าเป็นการเริ่มสมาคมไลออนส์อย่างสมบูรณ์แบบ

ชาวไลออนส์จึงได้ถือเอาวันที่ 8 ตุลาคม เป็นวันกำเนิดสมาคมไลออนส์หรือต่อมาเรียกว่าวันไลออนส์สากล

พ.ศ. 2463 (1920) สโมสรไลออนส์แพร่ออกไปนอกสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก มีการจัดตั้งสโมสรไลออนส์ขึ้นในประเทศแคนาดา

พ.ศ. 2469 (1926) มีการจัดตั้งสโมสรไลออนส์ขึ้นในประเทศเมกซิโก และคิวบา ในปีนี้มีสโมสรไลออนส์ในประเทศต่างๆ ตั้งขึ้นแล้ว 1,183 สโมสร มีสมาชิกไลออนส์ประมาณ 60,000 คน สมาคมจึงใช้ชื่อว่า"สมาคมสโมสรไลออนส์สากล" (The Internation Association of Lion Clubs)

ต่อจากนั้น มีการจัดตั้งสโมสรไลออนส์เพิ่มมากขึ้นในหลายประเทศ มีจำนวนสโมสรเพิ่มมากขึ้นทุกปี สมาชิกทั่วโลกอยู่ใน 193 ประเทศ และมลรัฐกว่า 45,923 สโมสร และจำนวนสมาชิกกว่า 1,400,000 คน นับว่าเป็นองค์กรการกุศลที่ใหญ่ที่สุดในโลก

คติพจน์
สมาชิกไลออนส์ มีคติพจน์ประจำว่า "We Serve" หรือ "เราบริการ"สมาชิกไลออนส์พร้อมที่จะบริการและรับใช้อยู่เสมอ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมความนึกคิด พิจารณญาณอันดีระหว่างมวลประชาชาติในโลก ด้วยการศึกษาถึงปัญหาสัมพันธภาพระหว่างชาติ
2. เพื่อส่งเสริมทฤษฏี และการปฏิบัติในหลักการให้เกิดความเป็นพลเมืองที่ดี และการปกครองที่ดี3. เพื่อส่งเสริมให้เกิดความสนใจ และการช่วยเหลืออย่างจริงจังต่อสาธารณกิจ สังคม และสวัสดิภาพทางศีลธรรมในท้องถิ่นนั้นๆ
4. เพื่อสร้างสามัคคีธรรมในหมู่สมาชิกของสโมสรให้เกิดไมตรีจิตมิตรภาพและความเข้าใจอันดีระหว่างกัน
5. เพื่อส่งเสริมให้มีการประชุมศึกษา และการแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผย ในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ทั้งนี้โดยไม่เกี่ยวข้องฝักใฝ่กับการเมือง การศาสนา หรือลัทธินิยมใดๆ6. เพื่อกระตุ้นเตือนและส่งเสริมให้สมาชิกเกิดสมรรถภาพ และรักษามาตรฐานจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจและอาชีพ ทั้งนี้ โดยสโมสรไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะกระทำให้เกิดผลประโยชน์ทางการเงินโดยตรงแก่สมาชิกของตน
International Lions Club Thailand District 310 A2

13 ตุลาคม 2552

กิจกรรมสโมสรฯปีบริหาร2552-2553เดือนตุลาคม2552

  • กิจกรรมผ่าตัดตาต้อกระจกผู้ป่วยจำนวน 141 คน ฟรี
    วันศุกร์ที่2-เสาร์ที่ 3 ตุลาคม 2552 สโมสรไลออนส์ในจ.นครสวรรค์ ได้แก่ สโมสรไลออนส์นครสวรรค์ สโมสรไลออนส์สี่แควนครสวรรค์ สโมสรไลออนส์เมืองพระบางนครสวรรค์ สโมสรไลออนส์ปากน้ำโพนครสวรรค์ ร่วมกับ รพ.บ้านแพร้ว(องค์การมหาชน)
    จัดกิจกรรมผ่าตัดตาต้อกระจกผู้ป่วยจำนวน 141 คน ณ.โรงพยาบาล รัตนเวช จ.นครสวรรค์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (ที่ได้รับการคัดกรองแล้วในวันที่21 กันยายน 2552 เทศบาลนครสวรรค์กว่า 600 คน) เพื่อบริการเป็นสาธารณะกุศล โดยแบ่งผู้เข้าผ่าตัดวันละ70ท่าน 2 วัน เข้าพักในรพ.1คืนเพื่อรอดูอาการ ยังความปลื้มปิติทั้งผู้ให้และผู้รับโดยทั่วกัน























































11 ตุลาคม 2552

กิจกรรมสโมสรฯปีบริหาร2547-2548

ไลออน รศ.ดร.ประเทือง ภูมิภัทราคม
นายกสโมสรฯปีบริหาร2547-2548